
การวางผังครัว ให้เหมาะกับชุดครัวและพื้นที่
การวางผังครัว ถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ก่อนการทำครัวเลยล่ะครับ เพื่อที่จะทำให้การใช้งานครัวของเรานั้น สะดวก ลื่นไหล ไม่ติดขัด ทำให้เราสามารถกำหนดพื้นที่การวางเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน รวมไปถึงการกำหนดขนาดของทั้งความกว้างและความสูงของเคาน์เตอร์ ตู้ลอย และอื่นๆ เพื่อให้ตรงกับสรีระของผู้ใช้งานครัว อีกด้วย ดังนั้นวันนี้ทาง KITCHENFORM จะขอพาทุกท่านมารู้ถึง “การวางผังครัว ให้เหมาะกับชุดครัวและพื้นที่” เพื่อให้เราสามารถใช้งานครัวได้สะดวกมากยิ่งขึ้นครับ
การวางผังครัว
การวางผังครัว คือการจัดวางรูปแบบการวางตู้ครัวให้เข้ากับพื้นที่ และการใช้งานครัว โดยรูปแบบการวางผังครัวหลักๆ นั้นจะมีอยู่ 4 แบบ ด้วยกัน ได้แก่ I-Shape Kitchen (ชุดครัวตัวไอ), L-Shape Kitchen (ชุดครัวตัวแอล), U-Shape Kitchen (ชุดครัวตัวยู), และ Island Counter Kitchen (ชุดครัวที่มีโต๊ะไอส์แลนด์กลางชุดครัว) ซึ่ง ในแต่ละแบบก็จะมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันครับ
I-Shape Kitchen (ชุดครัวตัวไอ)
การวางชุดครัวในลักษณะตัวไอ หรือ I-Shape Kitchen นั้น คือการวางตู้ครัวทั้งในส่วนของเคาน์เตอร์ครัวและตู้ลอยในลักษณะแนวยาว โดยการวางครัวลักษณะนี้จะเป็นการวางชุดครัวที่เน้นการใช้งานด้านเดียว ซึ่งจะเน้นไปในเรื่องของพื้นที่ในการ Movement ซึ่งจะเหมาะกับห้องที่มีพื้นที่ที่มีความแคบ หรือในลักษณะห้องที่เป็นแบบสี่เหลี่ยมพื้นผ้า อย่างเช่น ครัวหลังบ้าน ครัวคอนโด โดยการวางผังครัวในรูปแบบนี้จะสามารถวางได้ตั้งแต่ ขนาด 1 เมตร ขึ้นไป ตามขนาดความยาวของพื้นที่ นั้นๆ แต่ถ้าพื้นที่มีขนาดกว้างมากพอ ก็สามารถวางในรูปแบบของ ชุดครัวตัวไอแบบ 2 ฝั่ง ได้เช่นกัน
L-Shape Kitchen (ชุดครัวตัวแอล)
การวางผังชุดครัวในรูปแบบ ชุดครัวตัวแอล หรือ L-Shape Kitchen นั้น จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดกว้างขึ้นมาพอสมควรจากพื้นที่ตัวไอครับ โดยขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมควรจะเป็นพื้นที่ขนาดสี่เหลี่ยมพื้นผ้า หรือเป็นขนาดพื้นที่ภายในบ้านที่มีขนาดตั้งแต่ 3 X 3 เมตร ขึ้นไป นั้นก็เพื่อความสะดวกในการ Movement ใช้งานครัวนั้นล่ะครับ อีกทั้ง การวางผังครัวแบบตัวแอลนี้ จะสามารถจัดสรรมุมในการใช้งานครัวได้เป็นสัดส่วนมากยิ่งขึ้นครับ รวมไปถึงการจัดเก็บที่สามารถจัดเก็บได้มากขึ้น อีกด้วยครับ
U-Shape Kitchen (ชุดครัวตัวยู)
การวางผังชุดครัวในรูปแบบครัวตัวยู นั้น จะเป็นการวางผังครัวที่ไม่ได้ต้องการพื้นที่ Movement มากนักก็ได้ครับ แต่แค่ต้องการการใช้งานที่มีความกระฉับกระเฉง ซึ่งต้องการพื้นที่ตั้งแต่ 3 x 3 เมตร ขึ้นไป จะเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการความทะมัดทะแมง ในการใช้งานครัว และต้องการความครบครันของฟังก์ชั่นการใช้งาน เรียกได้ว่าเป็นชุดครัวแบบ Full Option เลยล่ะครับ
Island Counter Kitchen (ชุดครัวที่มีโต๊ะไอส์แลนด์กลางชุดครัว)
การวางผังครัวแบบ Island Counter Kitchen นี้ จะเป็นการวางผังครัวในรูปแบบผสม ซึ่งจะสามารถผสมได้ตั้งแต่ รูปแบบ I-Shape, L-Shape, และ U-Shape ครับ โดยรูปแบบนี้จะเป็นการเพิ่มในส่วนของ Island Counter หรือ โต๊ะไอส์แลนด์ เข้าใส่ในครัวรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ Cooking Space ให้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถทำเป็นทั้งพื้นที่ประกอบอาหารไปจนถึงพื้นที่รับประทานอาหารว่างก็สามารถทำได้ครับ โดยรูปแบบนี้จะเหมาะกับ บ้านที่มีพื้นที่กว้างพอสมควรครับ โดยพื้นที่บิ้วอินที่ต้องการนั้นก็จะตั้งแต่ 4 x 4 เมตรขึ้นไป เนื่องจากต้องเว้นพื้นที่ในการเดินระหว่างเคาน์เตอร์ไอส์แลนด์กับเคาน์เตอร์ครัว ไว้ประมาณ 90 – 120 cm. เพื่อให้สามารถเดินคล่องตัวและสามารถเปิด-ปิดหน้าบานโดยที่ไม่ขูดกับอีกฝั่งนั้นเอง
ขนาดที่เหมาะสม
เมื่อเราได้การจัดวางรูปแบบครัวที่เราต้องการแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ทุกท่านควรที่จะต้องรู้นั้นก็คือระยะที่พอดีของส่วนต่างๆ ครับ นั้นก็เพื่อการใช้งานที่เหมาะกับสรีระของเรานั้นเอง ทุกท่านคงไม่อยากใช้เคาน์เตอร์ที่ต่ำไปจนทำให้ปวดหลัง หรือ ตู้ลอยสูงไปจนหยิบของที่อยู่ภายในไม่ถึง ใช่ไหมล่ะครับ ดังนั้น ขนาดจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราควรคำนึงถึง
โดยขนาดหรือระยะในแต่ละส่วนนั้น อันที่จริงถ้าเป็นบริษัทบิ้วอินทั่วไป ทางดีไซน์เนอร์จะใช้ระยะตามมาตรฐานสากลครับ ซึ่งจะอิงในส่วนสูงของคนที่มีความสูงประมาณ 165 – 170 ซึ่งจะเป็นความสูงโดยเฉลี่ยของคนไทยนั้นเอง
ความสูงตู้เคาน์เตอร์
เอาล่ะครับ เรามาดูในส่วนแรก ก็คือในส่วนของตู้เคาน์เตอร์ครับ โดยปกติขนาดความสูงของตู้เคาน์เตอร์นั้น ควรจะต้องอยู่ที่ 85 – 90 cm. ซึ่งถ้าต่ำกว่านั้นก็จะทำให้เราก้มมากจนเกินไป ทำให้เราปวดหลังได้ หรือถ้าสูงกว่า 90 ขึ้นไป ก็จะทำให้เราต้องยกไหล่สูงขึ้น ทำให้ปวดไหล่ปวดคอ เสียสุขภาพได้ครับ
ระยะความกว้างท็อปเคาน์เตอร์
ต่อมาจะเป็นความกว้างบริเวณ ท็อปเคาน์เตอร์ ซึ่งระยะโดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ 60 cm. ซึ่งจะสามารถเพิ่มความกว้างเป็น 63 cm. แต่ไม่ควรมีความกว้างต่ำกว่า 60 เพราะจะทำให้ไม่สามารถวางเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบบิ้วอินได้ นั้นเอง
ระยะความสูงระหว่างท็อปเคาน์เตอร์ถึงใต้ตู้ลอย
ต่อมาที่เราจำเป็นต้องไฮไลท์ไว้เลยครับ นั้นก็คือระยะความสูงระหว่างท็อปเคาน์เตอร์ถึงใต้ตู้ลอย หรือระยะของผนังกันคราบนั้นเอง ซึ่งระยะมาตรฐานนั้นควรจะอยู่ที่ 65 – 69 cm. สามารถเลือกให้อยู่ในระดับความสูงของผู้ใช้ได้ครับ ซึ่งจะทำให้การใช้งานตู้ลอยนั้น ไม่สูงจนเกินไป และไม่ต่ำจนสามารถเกิดอันตรายได้ นั้นเอง
ระยะความกว้างของตู้ลอย
ระยะความกว้างของตู้ลอย ควรจะมีระยะที่สั้นกว่าตู้เคาน์เตอร์ล่างเล็กน้อย เพื่อสรีระการใช้เหมาะสม โดยทั่วไปแล้ว ระยะความกว้างของตู้ลอยควรจะอยู่ 40 – 45 cm. นั้นจะทำให้เราสามารถเปิด-ปิดหน้าบานได้สะดวกและไม่เกินอันตรายจากขอบตู้ลอยหรือหน้าบานนั้นเอง
การจัดโซน และพื้นที่ทำครัว
การจัดโซน Cooking Space ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้เราสามารถทำครัวได้อย่างสะดวกสบาย ใช้งานครัวได้แบบไม่ติดขัด ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่จัดแบ่งโซนการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น โซนทำอาหาร โซนล้าง โซนจัดเตรียม และโซนจัดเก็บ จุดสำคัญเลยก็คือ การเว้นระยะของการวางอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอ่างล้างจาน โดยถ้าเป็นลักษณะของชุดครัว I-Shape การแบ่งโซนที่ชัดเจนนั้น ดูจะลำบากไปสักหน่อย แต่เราจะแก้ด้วยการเว้นระยะการวางเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยที่ เราจะวางเตาแก๊สให้ห่างกับอ่างล้างจาน ประมาณ 60 – 120 cm. เพื่อเป็นการเว้นระยะไว้สำหรับเป็นพื้นที่ประกอบอาหาร และอีกนัยย์หนึ่ง ก็เพื่อไม่ให้ร้อนกับเย็นอยู่ใกล้กันมาก
แล้วในกรณีที่จำเป็นจะต้องวางเครื่องใช้ไฟฟ้าชิดผนังข้างหรือชิดตู้สูง ก็ให้เว้นระยะระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้ากับผนังหรือตู้สูงไว้ที่ 30 – 60 cm. เป็นอย่างน้อย เพื่อให้มีพื้นที่ในการทำงาน
ในกรณีที่เราทำครัวในรูปแบบของ ครัวตัวแอล หรือ ครัวตัวยู ในครัวรูปแบบนี้จะสามารถจัดโซนได้ง่ายกว่าครับ โดยเราสามารถแบ่งโซนได้ตามแต่ละมุมของชุดครัวเลย แต่สาระสำคัญจะอยู่ที่การวางแบบ มุม 3 เหลี่ยม ครับ เราจะวางอุปกรณ์อะไรไว้ตรงไหนก็ได้แต่ขอแค่ให้เป็นมุม 3 เหลี่ยม เพื่อที่จะทำให้การ Movement ของเรานั้นไม่ติดขัดนั้นเอง
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับการได้รู้ถึงการจัดผังชุดครัวให้เหมาะสมกับการใช้งานตามสรีระ น่าจะพอเป็นประโยชน์ให้ท่านที่กำลังสนใจอยู่ไม่มากก็น้อยนะครับ กับหัวข้อ “การวางผังครัว ให้เหมาะกับชุดครัวและพื้นที่” วันนี้ทาง KITCHENFORM ขอลาไปก่อน สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
อ่านบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับ ครัวบิ้วอิน เพิ่มเติม >> คลิก
สนใจสั่งซื้อ หรือ สั่งทำ ชุดครัวบิ้วอิน หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม