ขั้นตอนทำ ชุดครัวบิ้วท์อิน
ขั้นตอนทำ ชุดครัวบิ้วท์อิน
หากใครได้มีประสบการณ์การทำชุดครัวบิ้วท์อินสักครั้ง เชื่อได้เลยว่าต้องมีคำพูดในใจว่า “กว่าที่เราจะได้ชุดครัวสวยอย่างที่เห็น….) ย่อมต้องผ่านขั้นตอนมากมาย ทั้งยากและง่ายปะปนกันไป บางครั้งก็ต้องลองผิดลองถูกกัน กว่าจะได้ชุดครัวที่สวยและถูกใจ ซึ่งประสบการณ์ของผู้ที่เคยผ่านจะมีกระบวนการคิด การทำงานที่แตกต่างกัน
คิทเช่นฟอร์มจึงได้รวบรวมและสรุปขั้นตอนการทำชุดครัวแบบบิ้วท์อินที่ถูกต้อง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจโดยจะเริ่มตั้งแต่การเลือกรูปแบบ การเลือกใช้วัสดุ ระยะที่เหมาะสม รวมทั้งเทคนิคการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในห้องครัว
ซึ่งถ้าสรุปขั้นตอนในการทำชุดครัวบิ้วท์อินจะมีด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ
- การเลือกรูปแบบชุดครัว
- การเลือกใช้วัสดุ
- การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในห้องครัว
- การเลือกผู้ออกแบบและติดตั้ง
- การเลือกรูปแบบชุดครัว
1.1 การเลือกรูปแบบผังเคาน์เตอร์
การทำชุดครัวบิ้วท์อินที่ผ่านมาเราอาจคุ้นเคยกับการวางผังเคาน์เตอร์ครัวโดยยึดหลักสามเหลี่ยมนั่นคือ เตา อ่างล้างจาน และตู้เย็น ควรวางในตำแหน่งมุมของสามเหลี่ยม ซึ่งตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบเดิมที่ห้องกินข้าวแยกกับห้องครัว แม่เป็นแม่บ้านอยู่บ้านคนเดียว จ่ายตลาดบ่อย และไม่มีปาร์ตี้ แต่ทุกวันนี้ไลฟ์สไตล์ของคนส่วนมากได้เปลี่ยนไปเป็นกินข้าวในครัวเลย พ่อและแม่ออกไปทำงานทั้งคู่ หรืออยู่เป็นครอบครัวขยาย จ่ายตลาดสัปดาห์ละครั้ง มีปาร์ตี้บ่อย การจัดวางผังในครัวสมัยนี้ จึงมีรูปแบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป จากผังครัวแบบตัวแอล ตัวยู ตัวไอ หรือแบบคู่ขนานที่เราคุ้นเคย ก็อาจปรับไปได้หลากหลายมากขึ้น
จากขั้นตอนการวัดพื้นที่และลองวาดผังพื้น อาจสังเกตได้ว่า ครัวของคุณไม่ได้มีลักษณะเป็นห้องที่มีผนังปิดล้อมที่ด้านอีกต่อไป แต่เป็นครัวที่เชื่อมพื้นที่ต่อเนื่องกับส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกินข้าว ห้องพักผ่อน หรือแม้แต่สวน
ฉะนั้น ก่อนลงมือวางผังห้องครัว และทำชุดครัวบิ้วท์อินลองดูตัวอย่างการจัดวางที่หลุมจากกรอบห้องครัวแบบเดิมๆ เพื่อหารูปแบบครัวที่ตอบสนองการใช้งานของคุณได้จริงๆ
ข้อควรคำนึงเมื่อวางผังครัว
- อย่าลืมเผื่อพื้นที่ทำงานบนเคาน์เตอร์ใกล้ๆอ่างล้างจาน เตา และตู้เย็นให้เพียงพอ
- อย่างวางเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ที่มุมห้อง เนื่องจากใช้ไม่สะดวก เข้าถึงยากและอาจเกิดอันตรายได้
- ไม่ทำตู้ลิ้นชักเข้ามุม เพราะทำให้เสียพื้นที่เก็บของ
- เตาและเตาอบไม่ควรอยู่ใกล้กับตู้เย็น เพราะความร้อนจากเตาทำให้ตู้เย็นทำงานหนักมากขึ้น
- ไม่ควรวางตำแหน่งเตาตรงกับหน้าต่าง โดยเฉพาะเตาแก๊ส เพราะลมที่พัดมาอาจพัดเปลวไฟเข้าหาตัวเราขณะปรุงอาหารได้
- ที่เก็บจานชามและช้อนส้อมควรอยู่ใกล้กับอ่างล้างจาน
- หม้อและถาดควรเก็บไว้ใกล้กับเตาอบ
- เมื่อกำหนดระยะทางเดินในครัว ควรคำนึงถึงระยะเมื่อเปิดบานเปิดต่างๆ ทั้งตู้เย็น เตาอบ และตู้ใต้เคาน์เตอร์
1.2 การจัดวางระยะที่เหมาะสม
การทำชุดครัวบิ้วท์อิน ควรใส่ใจในระยะต่างๆในครัวที่ใช้เป็นระยะมาตรฐานเกิดจากการสำรวจพฤติกรรมการใช้งานที่สอดคล้องกับขนาดสัดส่วนร่างกายของคนเราโดยเฉลี่ย เมื่อคุณจัดวางผังและออกแบบห้องครัวโดยคำนึงถึงระยะต่างๆ ต่อไปนี้ จะช่วยให้การใช้งานในครัวนั้นสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น
- เคาน์เตอร์ครัวกว้าง 60 เมตร
- เคาน์เตอร์ครัวสูง 80 – 0.85 เมตร
- ตู้ครัวควรมีระยะกันเตะสูง 10 เซนติเมตร และลึก 5 เซนติเมตร
- ตู้แขวนควรสูงจากเคาน์เตอร์ 40 เมตร
- ตู้แขวนควรลึกจากด้านหน้าเคาน์เตอร์ 30 เมตร
- ชั้นบนสุดของตู้แขวนไม่ควรสูงเกิน 70 เมตร
- ชั้นเปิดโล่ง ไม่มีบานปิด ควรกว้าง 15-25 เซนติเมตร
- พื้นที่เตรียมอาหารระหว่างตู้เย็นกับอ่างล้างจานไม่น้อยกว่า 30 เมตร
- พื้นที่เตรียมอาหารระหว่างเตากับอ่างล้างจานไม่น้อยกว่า 30 เมตร
- ทางเดินในครัวควรกว้างไม่น้อยกว่า 25 เมตร (สำหรับ 2 คน)
- ทางเดินในครัวขนาดเล็กไม่น้อยกว่า 75 เมตร
1.3 ตำแหน่งงานระบบไฟฟ้าในครัว
ชุดครัวบิ้วท์อินต้องมีการจัดวางตำแหน่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้สอดคล้องกับสัดส่วนร่างกาย เพื่อให้ใช้งานได้สะดวก ระยะมาตรฐานสำหรับการปล่อยสายไฟต่อไปนี้น่าจะช่วยให้คุณและช่างทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
ถ้าจะให้ดี ก่อนวางผังครัวตามระยะมาตรฐาน ควรวัดขนาดของเครื่องใช้ที่คุณเล็งไว้ อย่างตู้เย็น เตา อ่างล้างจาน เครื่องดูดครัว หรือตู้เตาอบ เพื่อใช้ประกอบในการวางผัง เผื่อว่า รุ่นที่คุณชอบอาจมีขนาดต่างไปจากแบบมาตรฐานทั่วไป เช่น อ่างล้างจานที่ลึกพิเศษ หากติดตั้งที่ระยะความสูงเคาน์เตอร์มาตรฐาน อาจทำให้ล้างไปปวดหลังไปเพราะต้องก้มมากกว่าปกติ เป็นต้น
ระบุในแบบก่อสร้างว่า “ปล่อยสายสำหรับเตาอบ เครื่องดูดครัว และเตา เจาะช่องปล่อยสายสำหรับไมโครเวฟใส่ปลั๊กอเนกประสงค์” ระยะมาตรฐานเกิดจากการหาค่าเฉลี่ย จึงสามารถยืดหยุ่นได้ คุณอาจทดลองหาระยะที่พอดีกับร่างกายและการใช้งานต่างๆของคุณเอง โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ล้างจาน หรือเตรียมอาหาร อาจใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ เช่น ลองหั่นผักบนโต๊ะเพื่อหาความสูงของเคาน์เตอร์ครัวที่สบายสำหรับคุณ หรือไปทดลองกับโชว์รูมห้องครัว เช่น ลองเอื้อมมือเปิดปิดตู้แขวน ลองทำท่าล้างจาน แล้วสังเกตตัวเองว่ารู้สึกสบายกับระยะเหล่านั้นหรือไม่ ถ้าใช่ก็จัดการวัดระยะและจดบันทึกเป็นมาตรฐานส่วนตัวได้
- การเลือกใช้วัสดุ
การทำชุดครัวแบบบิ้วท์อินสิ่งที่ผู้ทำต้องเอาใจใส่เลือกให้ดีมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ ท็อปเคาน์เตอร์, แผงหลังเคาน์เตอร์, หน้าบานตู้ รายละเอียดดังนี้
ในชุดครัวบิ้วท์อิน ท็อปเคาน์เตอร์คือส่วนที่ใช้งานหนักที่สุดในครัวฉะนั้นการเลือกวัสดุกรุในส่วนนี้ นอกจากเลือกที่สวยถูกใจ ต้องคำนึงถึงการทำความสะอาด ความทนทานและความปลอดภัยด้วย เนื่องจากท็อปเคาน์เตอร์ต้องสัมผัสกับอาหารโดยตรง การเลือกวัสดุคุณภาพดีตั้งแต่ต้น แม้จะสิ้นเปลืองงบประมาณ แต่ก็คุ้มค่าเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและเสียสตางค์เปลี่ยนใหม่ในภายหลัง
ไอเดียหนึ่งในการเลือกวัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์ คือ หากครัวของคุณมีเคาน์เตอร์หลายส่วนแยกกันลองเลือกวัสดุต่างชนิดกรุในส่วนที่ต่างกัน เพื่อเพิ่มความสนใจให้กับการตกแต่ง และเพื่อตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย เช่น ส่วนที่เป็นเกาะกลางที่คุณใช้นวดแป้งทำขนมอาจกรุท็อปด้วยหินอ่อนซึ่งดูสวยงามและเป็นธรรมชาติที่ปลอดภัย และส่วนที่ใช้หั่น-ล้าง อาจกรุด้วย Solid Surface ที่ทนงานหนักและคราบสกปรกได้มากกว่า เป็นต้น
ประเภทของวัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์
- สเตนเลส ทนทาน ทำความสะอาดง่าย แต่ไม่ทนการขูดขีด และมักเกิดรอยนิ้วมือ
- หินแกรนิต ทนทาน ทำความสะอาดง่าย แต่อาจดูไม่ทันสมัย ลวดลายที่ได้อาจไม่ตรงกับที่เลือก เพราะเป็นวัสดุธรรมชาติ ฉะนั้นควรเลือกดูลวดลายจากแผ่นหินจริง
- หินอ่อน สวยงาม หรูหรา เป็นธรรมชาติ เข้าได้กับทั้งครัวโมเดิร์นและครัวคลาสสิกไม่ทนต่อกรดและสารเคมี
- หินสังเคราะห์ มีหลากสีให้เลือก ทำความสะอาดง่าย อาจเกิดรอยด่างเมื่อโดนกรด ควรเคลือบผิวหน้าด้วยซิลิโคน มีรอยต่อระหว่างแผ่น
- Solid Surface ทนทาน มีสี ลวดลายและผิวสัมผัสให้เลือกมากมาย ทำความสะอาดง่าย ไม่มีรอยต่อ ไม่มีรูพรุน ทนต่อสารเคมี เมื่อเป็นรอยไหม้หรือขีดข่วนสามารถซ่อมแซมได้
- ไม้จริง สวยงาม เป็นธรรมชาติ ไม่ล้าสมัยแต่ว่าความชื้น แดด และอุณหภูมิอาจทำให้ไม้เปลี่ยนสี หรือยืดและหดตัวได้
- ลามิเนต มีสีและลวดลายให้เลือกมาก ทำความสะอาดง่าย มีหลายเกรด หลายราคา
- กระเบื้อง ทนความร้อน การขีดข่วนและความชื้นได้ดี มีหลากหลายรูปแบบ การทำความสะอาดทั่วไปง่าย แต่ว่ามักว่าปัญหาที่ร่องยาแนว
ชุดครัวบิ้วท์อิน บริเวณแผงหลังเคาน์เตอร์ครัวซึ่งกินพื้นที่ไม่มีนี่ล่ะที่นักออกแบบมักจะใส่ลูกเล่น ลวดลาย หรือสีสันให้โดยเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นส่วนที่มองเห็นได้ชัดและไม่ได้ถูกใช้งานหนัก อย่างไรก็ตามหากเป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับเตาหรืออ่างล้างจานควรเลือกชนิดที่ทำความสะอาดง่าย เนื่องจากมักจะมีคราบน้ำมันหรือเศษอาหารกระเด็นไปติดเสมอ วัสดุผิวเรียบเป็นมันจึงเป็นทางเลือกที่ดี
ไอเดียสำหรับวัสดุกรุแผงหลังเคาน์เตอร์คือคุณอาจกรุส่วนนี้ด้วยวัสดุโปร่งแสงอย่างกระจกฝ้า หรือ Solid Surface ชนิดโปร่งแสง แล้วซ่อนไฟไว้ด้านหลัง เพื่อสร้างมิติให้ตู้ครัวดูน่าสนใจ และยังให้แสงสว่างทั่วถึงพื้นที่ใช้งานบนท็อปเคาน์เตอร์ด้วย
วัสดุกรุแผงหลังเคาน์เตอร์
- กระจก มีทางเลือกมากกว่าเมื่อก่อน เช่น กระจกลวดลายและกระจกพ่นสี ดูน่าสนใจทำความสะอาดง่าย เหมาะกับบ้านโมเดิร์น
- กระเบื้อง มีรูปแบบ ลวดลาย และสีสันให้เลือกมากมาย หรือจะเลือกชนิดที่เขียนลวดลายด้วยมือซึ่งให้ความรู้สึกหรูหราไม่เหมือนใครก็ได้ ปัญหามักอยู่ที่ร่องยาแนว ซึ่งสกปรกหลุดร่อนง่าย และทำความสะอาดยาก
- สเตนเลสสตีล ดูเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ดี สวยแบบเบ็ดเสร็จ ทำความสะอาดง่ายแต่ไม่ทนการขีดข่วน
- โมเสก มีสีให้เลือกมากมาย ทำจากวัสดุหลากหลาย ทั้งแก้ว กระเบื้อง และโลหะดูสะดุดตาด้วยผิวสัมผัส แต่มีร่องยาแนวจำนวนมาก ทำความสะอาดยาก
- Solid Surface ทนทาน มีสี ลวดลายและผิวสัมผัสให้เลือกมากมาย ทำความสะอาดง่าย ไม่มีรอยต่อ ไม่มีรูพรุน ทนต่อสารเคมี เมื่อเป็นรอยไหม้หรือขีดข่วนสามารถซ่อมแซมได้
2.3 หน้าบานตู้
ชุดครัวบิ้วท์อิน หน้าบานตู้คือส่วนที่เป็นหน้าเป็นตาของห้องครัว มองเห็นได้ชัด บ่งบอกภาพรวมและสร้างบรรยากาศของการตกแต่งได้มากกว่าส่วนอื่นๆ เมื่อเจ้าของบ้านต้องการปรับเปลี่ยนหน้าตาของครัว หน้าบานตู้มักเป็นส่วนแรกๆที่จะถูกเปลี่ยน ปัจจุบันนอกจากหน้าบานตู้แบบสั่งทำ ก็ยังมีชนิดสำเร็จรูปในแบบมาตรฐานเป็นทางเลือกใหม่ ทั้งสะดวกและได้เห็นสินค้าก่อนซื้อ (การสั่งทำ บางครั้งสิ่งที่ได้อาจไม่ตรงกับที่คิดไว้) ซึ่งหากตั้งใจจะใช้หน้าบานตู้สำเร็จรูป ควรตรวจเช็คขนาดที่แน่นอนก่อน เพื่อจะได้ทำช่องภายในตู้ให้พอดีกัน อย่างไรก็ตามหากต้องการรูปแบบหน้าบานตู้ที่มีรายละเอียดพิเศษ การสั่งทำก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
วัสดุใช้ทำหน้าบานตู้
- ไม้จริง สวยงาม หรูหรา เป้นธรรมชาติเข้าได้กับการตกแต่งทั้งสไตล์โมเดิร์น คลาสสิกและคันทรี สามารถทาสีทับได้
- วีเนียร์ สวยเหมือนไม้จริง มีลวดลายสวยแปลกตา ให้สัมผัสของธรรมชาติ สามารถเปลี่ยนได้เมื่อชำรุดหรือดูล้าสมัย
- สีพ่น มักพ่นลงบนแผ่นไม้ MDF เลือกสีและสัมผัสได้หลากหลาย แบบเคลือบเงาหรือที่เรียกว่าไฮกรอส ให้สัมผัสหรูหรา เช็ดทำความสะอาดง่ายกว่าแบบผิวด้าน แต่ว่าสามารถเกิดรอยนิ้วมือได้ง่าย
- ลามิเนต มีหลากสีและหลายลวดลายให้เลือก ปัจจุบันมีรุ่นที่ทำเลียนแบบลายไม้และโลหะ รวมถึงแผ่นลามิเนตที่เพิ่มคุณสมบัติของแผ่นแม่เหล็กและเป็นกระดานดำไปในตัวเพื่อเพิ่มการใช้งานให้หน้าบานตู้
- กระจก มีพื้นผิวและสีสันให้เลือกหลากหลาย ดูทันสมัย สะดุดตา ทำความสะอดาง่ายสามารถใช้หน้าบานตู้กระจกใสแทนชั้นเปิดโล่งเพื่อให้มองเห็นข้าวของในตู้ และก็ยังสามารถป้องกันฝุ่นและคราบไขมันได้ดีอีกด้วย
- การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในห้องครัว
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในห้องครัวเป็นสิ่งที่รองรับกิจกรรมหลักในครัวเป็นตัววัดว่าครัวของคุณสามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ คุณจะรู้ดีที่สุดว่าต้องการใช้ครัวอย่างไร ต้องการตู้เย็นใหญ่แค่ไหน ช่องแช่ผักกับช่องแช่แข็งอย่างไหนจำเป็นมากกว่ากัน อ่างล้างจานควรมีกี่หลุมและขนาดไหน ฯลฯ การเลือกหรือหมายตาไว้ก่อนจะช่วยให้คุณเห็นภาพส่วนอื่นๆ ของครัวได้ชัดขึ้น
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในห้องครัวมีหลากหลายประเภท เช่น เตา, เครื่องดูดควัน, อ่างล้างจาน, ก๊อกน้ำ, เตาอบ, ไมโครเวฟ, เครื่องล้างจาน และบางบ้านเครื่องซักผ้าก็ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในห้องครัวด้วย ส่วนการเลือกซื้อควรพิจารณาจากลักษณะการใช้งาน งบประมาณ และการบริการหลังการขายเป็นหลัก ซึ่งสูตรง่ายๆ ของการเลือกซื้อเครื่องใช้ในครัวคือเลือกคุณภาพที่ดีที่สุดที่คุณสามารถจ่ายได้
- การเลือกผู้ออกแบบและติดตั้ง
เมื่อคุณสามารถวางรูปแบบ, วัสดุ และเครื่องใช้ในครัวได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายและสำคัญมากคือ “การเลือกผู้ออกแบบและติดตั้ง” เพราะจะเป็นตัวชี้วัดว่าชุดครัวที่คุณวาดฝันเอาไว้จะสามารถออกมาตรงตามความต้องการหรือไม่ ในปัจจุบันมีดีไซน์เนอร์, อินทีเรีย และผู้รับเหมาเป็นจำนวนมาก การที่จะตัดสินใจเลือกคงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ คุณควรเลือกเจ้าที่มีความชัดเจนในเรื่องรายละเอียดของแบบและราคา ผลงาน และต้องมีความน่าเชื่อเป็นหลักซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สายด่วน 1570 หรือเว็บไซต์ www.dbd.go.th
คุณต้องให้ผู้ออกแบบและติดตั้งชุดครัวออกแบบชุดครัวในรูปแบบ 3D ให้ดูพร้อมกับเสนอราคาเบ็ดเสร็จก่อนตัดสินใจซื้อ และไม่ควรจ่ายเงินให้ทั้งหมดทีเดียวต้องจ่ายเป็นค่ามัดจำไปก่อนเมื่องานเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงค่อยจ่ายส่วนที่เหลือ ต้องมีทีมงานที่พร้อมและมีประสบการณ์เพื่อให้งานเสร็จทันเวลาและได้ชุดครัวที่มีความสวยงามคงทน และที่สำคัญต้องมีการบริการหลังการขายที่ดีสามารถให้คำปรึกษาได้ดีและเข้ามาตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้ตลอดโดยไม่ทิ้งลูกค้า
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก
- หนังสือ KITCHEN สำนักพิมพ์บ้านและสวน
- บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
- เว็บไซต์ www.sanook.com
สนใจสั่งซื้อ หรือ สั่งทำ ชุดครัวบิ้วอิน หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร. 0 2102 2187
ดูแลห้องครัวอย่างครบวงจร
“คิทเช่นฟอร์ม”